top of page
  • TPD

เมืองปลอดภัย: City Together BKK ร่วมสร้างเมือง ร่วมสร้างกรุงเทพฯ


เคยรู้สึกหวั่นๆ เวลาเดินในซอยเปลี่ยวหรือสวนสาธารณะกลางดึกมั้ย? หรือเคยไม่มั่นใจในความสะอาดของอาหารริมทางที่ทานเข้าไปรึเปล่า? แน่ล่ะ ความกล้าอาจเป็นเรื่องแต่ละคนมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ความรู้สึกปลอดภัยเป็นเรื่องที่กรุงเทพฯ จัดหาให้ได้ เพราะมีที่ดูแลรักษาความสงบและสุขภาวะของสังคม ไม่ให้มีใครละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของคนอื่น ความรู้สึกปลอดภัยของประชาชนเกิดจากความมั่นใจในมาตรการที่ทำให้ความเสี่ยงในชีวิตด้านต่างๆ ลดเหลือน้อยที่สุด นั่นละที่ทำให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองปลอดภัย” แต่การเป็นเมืองปลอดภัยนั้นทำได้หลายแบบ และก็มีหลายวิธีที่จะไปให้ถึงแต่ละแบบด้วย คัมภีร์เล่มเล็ก “สมุดปกขาว” บอกใบ้เราว่า ถ้ากรุงเทพฯ จะปลอดภัยต้องทำ 7 เรื่องนี้


1) คนเมืองปลอดโรค โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรืาองที่ห้ามไม่ได้ แต่การเตรียมพร้อมรับมือสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นสามารถทำได้ ด้วยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุมและทั่วถึงประชาชนทุกพื้นที่ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์บริการสุขภาพและโรงพยาบาลในรูปแบบเครือข่ายหน่วยบริการที่เชื่อมต่อกัน มีฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงรองรับผู้ป่วยทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ


2) อาหารปลอดภัย มีกลไกการเฝ้าระวังแหล่งอาหารที่ไม่ปลอดภัยและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยได้อย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการของคนเมือง กรุงเทพอาจกำหนดนโยบายหรือมาตรการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง สนับสนุนร้านค้าหลายย่อยหรือ อาหารริมทางให้ได้ประโยชน์จากอาหารที่สะอาดและปลอดภัย


3) ทางเท้าปลอดภัยและครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ จัดสรรให้ครอบคลุมเหมาะสมกับทุกกลุ่มคนหรือพวกกลุ่มเปาะบางลดสิ่งกีดขวางทางเท้าจัดระเบียบทางเท้าในการอยู่ร่วมกันของอาชีพบนทางเท้าและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่สัญจรไปมา


4) อาคารปลอดภัย กรุงเทพอาจทบทวนกฎหมายในการสร้างต่อเติมหรือถอนอาคาร จัดทำเป็นฐานข้อมูลและกลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาคารเก่า รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยของอาการอย่างเคร่งครัด


5) ชุมชนปลอดภัย ช่วยเหลือและลดภัยพิบัติในชุมชนแออัดโดยการจัดหาอุปกรณ์หรือโครงการภายในชุมชนเพื่อรับมือภัยพิบัติให้ได้มาตรฐาน โดยอาจจัดทำฐานข้อมูลและเส้นทางในการเข้าถึงพื้นที่ชุมชนได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดภัยพิบัติรวมถึงการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการตัวเองในกรณีที่เกิดภัยพิบัติได้


6) ชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัยในจุดเสี่ยง กรุงเทพฯ ควรดูแลพื้นที่จุดเสี่ยงอย่างรอบด้านและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้ในทันทีโดยมีระบบการดูแลการแจ้งเหตุด่วนหรือ อาชกรรมอย่างครบวงจร


7) ครอบครัวปลอดภัย กรุงเทพฯ ควรมีนโยบายลดความรุนแรงภายในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศโดยการคุ้มครองสิทธิและศักยภาพของสตรี ก็คือหน่วยงานด้านความปลอดภัยควรให้ความสำคัญกับการเกิดเหตุและการแจ้งเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงภายในครอบครัวโดยไม่ชักช้า


ความปลอดภัยเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการมีชีวิตที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย เราทุกคนต้องการความปลอดภัย ความไว้ใจซึ่งกันและกัน ไม่ต้องระแวดระวังเมื่อเดินในที่เปลี่ยว เข้าใช้อาคารเก่าโทรมคร่ำครึ หรือระแวงคนในครอบครัวว่าจะใช้ความรุนแรง เราเห็นแล้วว่าระบบบริการสุขภาพ อาหาร ทางเท้า อาคาร ชุมชน ชีวิต และครอบครัว เป็นพื้นที่ปลอดภัยได้ แต่ก็เป็นได้มากพอๆ กับพื้นที่เสี่ยง ถ้าไม่อยากให้พื้นที่ปลอดภัยคุกคามคนกรุงเทพฯ เสียเอง ก็น่าจะพลิกพื้นที่เหล่านั้นให้เป็นพลังบวก ส่งเสริมชีวิตที่ดีของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย


3 views0 comments

Komentar


bottom of page