top of page
  • TPD

เมืองทันสมัย: City Together BKK ร่วมสร้างเมือง ร่วมสร้างกรุงเทพฯ


เมืองจะพัฒนาได้ ต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง หนึ่งในนั้น ก็คือ เทคโนโลยี ถึงตรงนี้ หลายคนคงนึกถึงแอปพลิเคชั่น Tuffy Fondue ซึ่งเปลี่ยนโฉมวิธีแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอยในกรุงเทพฯ หลักใหญ่ใจความของระบบนี้เรียบง่ายมาก นั่นคือ การสื่อสารสองทางระหว่างคนกรุงเทพฯ กับหน่วยงานของ กทม. แต่จะดีกว่ามั้ยถ้าเทคโนโลยีครอบคลุมทุกมิติของกรุงเทพฯ เป็น “เมืองทันสมัย” ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนเมือง ให้สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และคุณประโยชน์ของเทคโนโลยี่ก็คงเอื้อต่อการบริหารกรุงเทพฯ ด้วยเช่นกัน ถ้าเราไล่เรียงดูคัมภีร์เล่มเล็ก “สมุดปกขาว” ก็จะพบว่ากรุงเทพฯ จะทันสมัยได้ ต้องทำอย่างน้อย 3 เรื่อง ดังนี้


1) เทคโนโลยีในชีวิต - คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการและคนสูงวัย อาจะเข้าถึงบริการสาธาณะได้ไม่เท่ากัน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีก็ดี การส่งเสริมการรับรู้ข้อมูล (data literacy) ก็ดี จะมีส่วนช่วยขจัดอุปสรรคให้ลดน้อยถอยลง อาทิ แอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้การเดินทางขนส่งสาธารณะสะดวกสะบายขึ้น หรือการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่การเรียนรู้ต่างๆ ที่สำคัญ ก็คือ การแสวงหาความร่วมมือจากเครือข่ายภาคประชาชนในการพัฒนาและใช้งานข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อที่จะรายงานปัญหาแบบเรียลไทม์


2) เทคโนโลยีการบริหาร - เมืองควรถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ใช้ข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจและกำหนดแนวทางดูแลคนกรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลที่มาจากความร่วมมือ หรือบูรณาการกับหน่วยงานอื่น เป็นข้อมูลเปิด (open data) มาช่วยวิเคราะห์แก้ปัญหาเมือง การจะทำเช่นนั้นได้ บุคลากร กทม. ทั้งผู้บริหารและระดับปฏิบัติการก็ต้องมีทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมดิจิทัล บทบาทของ กทม. คือการปลูกฝังทักษะเหล่านี้เพื่อให้สอดรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ด้วย


3) เทคโนโลยีพลเมือง - เพื่อที่จะเป็นเมืองทันสมัย สำคัญที่สุด กรุงเทพฯ อาจต้องมี platform เชื่อมโยงข้อมูลเมืองเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ และการมีระบบข้อมูลเปิดก็จะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กำหนดอนาคตร่วมกันได้อย่างแท้จริง


“ความทันสมัย” ถือเป็นปัจจัยเร่งให้เมืองพัฒนา หากใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารอย่างเหมาะสม กรุงเทพฯ ก็จะรุดหน้าไปได้อีกไกล ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทุกกลุ่ม เอื้ออำนวยการใช้ชีวิตของกลุ่มเปราะบาง คนบริหารก็ง่ายต่อการตัดสินใจเพราะมีข้อมูลครบครัน เห็นปัญหาจริง ไม่จกตา ส่วนภาคประชาชนก็เข้มแข็งเพราะเข้าถึงข้อมูล มีพื้นที่ให้เสียงส่งผ่านไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจนโยบาย ถ้าใช้ถูกวิธี เทคโนโลยีช่วยให้กรุงเทพฯ น่าอยู่ ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม สร้างสรรค์ และมีส่วนร่วม


Comentarios


bottom of page