top of page
TPD

อุทกภัย ภัยแล้ง และอนาคตของ กทม.



เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา รองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้ร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Floods Droughts and the Future of Bangkok (อุทกภัย ภัยแล้ง และอนาคตของกรุงเทพมหานคร) ในงานเปิดตัวรายงานธนาคารโลก ตามติดเศรษฐกิจไทย มิถุนายน 2566: การรับมือกับภัยแล้งและน้ำท่วม ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2 อาคาร 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน


โดยสาระสำคัญของปาฐกถาพิเศษของรองผู้ว่าฯ คือ การทำอย่างไรที่จะให้การบริหารจัดการสามาถยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยรองผู้ว่าฯ ได้กล่าวว่า กทม. ได้จดทะเบียนเข้าสู่ MCR (Making Cities Resilient) เพื่อเป็นเมืองที่มีความยืดหยุ่น โดยประเมินผลตัวเองไว้ที่ 52 คะแนน จาก 100 คะแนน แปลว่ายังมีงานอีกเยอะที่ต้องทำ ซึ่งภายใน 3 ปีนี้ เราต้องการให้ทุกคนช่วยเรา โดยทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกคนเข้าใจว่าเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน


ขณะที่ในเรื่องการจัดการน้ำนั้น รองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้พูดถึงว่า กทม. ได้นำระบบเทคโนโลยี เช่น AI หรือระบบ IoT (Internet of Things) เข้ามาใช้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและการรายงานให้ประชาชนทราบ อาทิ มีเรดาร์น้ำฝน ซึ่งสามารถจับกลุ่มฝนที่จะมาถึงกรุงเทพมหานครภายในเวลาประมาณ 1 – 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยรายงานให้ประชาชนทราบเพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางได้ มีเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำตามท่อระบายน้ำ/ถนนสายหลัก รวมถึงมีการปรับกล้อง CCTV ให้สามารถเห็นระดับน้ำบนพื้นถนนเมื่อเกิดฝนตก ซึ่งจะทำให้สามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการระบายน้ำได้ มีการนำจุดเสี่ยงน้ำท่วม 737 จุด ขึ้นบนแผนที่ความเสี่ยงกรุงเทพมหานคร (BKK Risk Map) เพื่อเจ้าหน้าที่ติดตามแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตรงจุด และประชาชนสามารถติดตามได้ว่าพื้นที่ที่ตนอยู่มีความเสี่ยงหรือไม่ เป็นต้น


ส่วนเรื่องของภัยแล้ง กทม. ได้มีฝายดักน้ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงยังได้มีการสนับสนุนเครื่องบดอัดฟาง เพื่อป้องกันการเผาที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมา นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการน้ำร่วมกับจังหวัดข้างเคียงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย


8 views0 comments

Opmerkingen


bottom of page