เมื่อวันที่ 6 เม.ย. รองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ เวลาทองของการส่งเสริมพัฒนาการ กับการยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ในงาน Kind + Jugend ASEAN 2023 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา โดยประเด็นสำคัญคือ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและการยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกรุงเทพมหานคร
.
ทั้งนี้ หากเราย้อนดูความหมายของ “ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน” ซึ่งปรากฏในเว็บไซต์ของสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้กล่าวว่าคือ สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน และดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชน โดย “เด็กก่อนวัยเรียน” ยังหมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
.
แต่เดิมศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนดำเนินการภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ กระทั่งกรุงเทพมหานครได้เข้ามาให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนให้ได้รับการพัฒนาตามสมควรแก่วัย และมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การศึกษาในระบบโรงเรียน
.
โดยงานเมื่อวันที่ 6 เม.ย. นี้ รองผู้ว่าฯ ทวิดา ยังได้บอกเล่าถึงแผนพัฒนาในอนาคตของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนว่า “กรุงเทพมหานครจะดำเนินการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน (กายภาพ อุปกรณ์ หลักสูตร) พัฒนาศักยภาพบุคลากรและอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง (ทักษะ สมรรถนะ สวัสดิการคำตอบแทน) เปิดศูนย์เด็กอ่อนกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง ปี 67 รับเด็กอายุ 3 เดือน – 3 ปี ดูแลแบบครอบคลุมแต่จะเป็นการทดลองกับบุตรของบุคลากรของกทม. ก่อนในเบื้องต้นเพื่อดูว่ารูปแบบที่วางไว้สามารถดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎระเบียบ หากทำได้ กทม. จะขยายผลต่อไป”
.
.
ดูเพิ่มเติมใน
“ยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ดูแลเด็กทุกคนให้เติบโตอย่างมีความสุข” เข้าถึงข้อมูลที่ https://pr-bangkok.com/?p=105597
“ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน” เข้าถึงข้อมูลที่ https://webportal.bangkok.go.th/.../%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0...
댓글