top of page
  • TPD

ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาที่รับได้ยากแต่ก็เลี่ยงไม่ได้


คนเมืองอย่างกรุงเทพฯ คงได้ประสบพบเจอกับปัญหาฝุ่นละออง วันพิษอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หลายคนพยายามป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงจากแหล่งที่มีฝุ่นละอองและควันพิษหนาแน่น แต่ปัญหาที่วนลูปกลับมาทุกปีเสมือนงานรวมญาติ ก็คือ ฝุ่น PM 2.5 ที่จะมาในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ฝุ่น PM 2.5 นั้นต่างจากฝุ่นละอองชนิดอื่น ด้วยชนาดที่ละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเทียบได้กับ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ จึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ไปปะปนกับกระแสโลหิต สะสมนานวันกลายเป็นโรคร้าย มะเร็งปอด และโรคอื่นๆ ตามมานานาชนิด แล้วอะไรคือต้นตอสาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5? ต้นตอของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ก็มาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากควันไอเสียยานพาหนะ และที่มากเป็นพิเศษคือฝุ่นควันจากการเผาไหม้จากาคเกษตรบริเวณโดยรอบกรุงเทพฯ และไฟไหม้จากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ สำหรับกรุงเทพฯ แล้ว ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จึงยากที่จะรับมือ ทำได้เพียงให้ความรู้กับประชาชนถึงโทษภัย ความรุนแรง และพฤติกรรมที่เหมาะสม สิ่งที่ทำได้ก็อาจเป็นเพียงการเตรียมความพร้อมสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ วันที่ 29 พ.ย. 65 ที่ผ่านมา เราเริ่มมองเห็นความตื่นตัวของกรุงเทพฯ มีการจัดงานเสวนา "ภารกิจ กทม. กับการรับมือฝุ่น PM 2.5" นี่ถือเป็นสัญญาณบวก เพราะผู้บริหารระดับปลัด กทม. ลงมาให้ความสำคัญกับปัญหามลพิษที่รายล้อมรอบคนกรุงเทพฯ และยิ่งได้รับการเน้นย้ำด้วยแล้วว่า การแก้ไขปัญหานี้เป็นหนึ่งในนโยบาย 216 ข้อ ของผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ก็ยิ่งทำให้เริ่มมองเห็นทิศทางของการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น การจัดการกับฝุ่น PM 2.5 เชิงรับเหมือนที่ผ่านมา ไม่ต่างจากการที่หมอรักษาโรคตามอาการ แต่ไม่ได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วยให้ดีขึ้น กรุงเทพฯ จึงต้องรับมือกับฝุ่น PM 2.5 เชิงรุกมากขึ้น แม้จะเป็นปัญหาที่รับได้ยากแต่ก็เลี่ยงไม่ได้ นี่คือความท้าทายของผู้บริหารกรุงเทพฯ ชุดปัจจุบัน จะเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่าจะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกได้จริงหรือไม่ ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาวนลูปก็จริง แต่ถ้าจัดการอย่างดี คนกรุงเทพฯ ก็น่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมไม่มากก็น้อย...

Comentarios


bottom of page